กระต่ายน้อยเจ้าน้ำตา ( Epiphora in rabbit )

กระต่ายน้อยเจ้าน้ำตา ( Epiphora in rabbit )

กระต่ายน้อยเจ้าน้ำตา ( Epiphora in rabbit )

โดยทั่วไปแล้วน้ำตาจะสร้างจากต่อมสร้างน้ำตาและจะไหลมายังบริเวณหัวตาด้านล่างเพื่อเข้าสู่ท่อน้ำตา ที่เรียกว่า nasolacrimal canal และระบายออกทางปลายจมูก หากมีความผิดปกติของระบบท่อระบาย น้ำตาก็จะทำให้น้ำตาระบายออกทางปลายจมูกไม่ได้จึงทำให้น้ำตาเอ่อขึ้นมากและไหลออกมายังที่ตา จึงทำให้เห็นว่ากระต่ายมีน้ำตาไหลเยอะ

อาการที่พบกระต่ายจะมีน้ำตาไหลหรือขี้ตาเยอะ ขนบริเวณรอบดวงตา ใบหน้า และขนขาหน้าเปียก ขนบริเวณรอบดวงตาเปลี่ยนเป็นน้ำตาล เนื่องจากสารสีของน้ำตา ใบหน้าขึ้นอักเสบ เยื่อตาขาวอักเสบ ขนบริเวณขอบตาร่วง ผิวหนังรอบดวงตาอักเสบแดง เป็นต้น

ซึ่งมีหลายสาเหตุที่ทำให้ระบบท่อน้ำตาสูญเสียการทำงาน เช่น

– สิ่งแปลกปลอมทำให้เกิดการระคายเคืองและทำให้เยื่อตาขาวเกิดการอักเสบ เช่น ฝุ่น ผงหญ้า ขน

– ความผิดปกติของรากฟันที่ยาวผิดรูป รากฟัน ฝี หรือยาวมากเกินไปจนไปกดทับท่อน้ำตา

– การบวมบริเวณเนื้อเยื่อรอบๆท่อน้ำตาจากโรคติดเชื้อ เช่น โพรงจมูกอักเสบหรือไซนัสอักเสบ

– อุบัติเหตุการณ์กระแทกบริเวณกระดูกชากรรไกรบน (Maxilla) ทำให้ท่อน้ำตาเกิดการอักเสบ

– อุบัติเหตุการณ์กระแทกบริเวณเส้นประสาทแถวใบหน้า ทำให้เกิดอัมพาตบริเวณใบหน้า คุมการหลั่งของน้ำตาไม่ได้

– เนื้องอกที่บริเวณส่วนของกระดูกขากรรไกรบนใบหน้า หรือบริเวณรอบ ๆ ตาซึ่งมีผลทำให้ท่อน้ำตาถูกกดทับ

ถ้าหากไม่ได้รับการแก้ไข มีโอกาสสูงที่ทำให้เกิดติดเชื้อแทรกซ้อนขึ้นได้และทำให้บริเวณขนรอบดวงตาหลุดได้ง่ายและอักเสบแดง

การวินิจฉัยโดยใช้สีย้อมตาพิเศษ Fluorescein stain stain เพื่อดูการไหลของสีจากหัวตามายังปลายจมูก

หากมีการอุดตันของท่อน้ำตา เราจะพบว่าสีย้อมไม่ไหลมายังทางออกของท่อน้ำตาที่ปลายจะใช้น้ำสะอาดปราศจากเชื้อ หรือ น้ำเกลือ ล้างเข้าไปในท่อน้ำตา โดยจะสอดท่อขนาดเล็ก ๆ เข้าไปแล้ว fush ล้าง หากท่อน้ำตาของกระต่ายปกติ น้ำที่ fush เข้าไปก็จะไหลออกมาทางจมูกเป็นน้ำใส ๆ เหมือนเดิม แต่หากมีการอักเสบก็จะพบว่าน้ำที่ไหลออกมาจากจมูกเป็นสีขาวขุ่น หรือบางตัวอาจจะไม่มีน้ำออกมาทางจมูกได้เลย เนื่องจากเกิดการอุดตันของท่อน้ำตาเรียบร้อยแล้ว

สีย้อมตาพิเศษ Fluorescein stain ยังสามารถใช้หาแผลหลุมที่กระจกตาได้อีกด้วย ซึ่งก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่อาจทำให้กระต่ายแสดงอาการน้ำตาไหล หลี่หรือเจ็บตา

นอกจากนี้ถ่ายภาพรังสีเพื่อดูลักษณะของรากฟันและขากรรไกรเพิ่มเติมหลังจากการ flush ท่อน้ำตา

ในกรณีที่คาดว่าสาเหตุโน้มนำมาจากปัญหาดังกล่าว ซึ่งส่วนนี้อาจต้องมีประวัติจากเจ้าของช่วยเพิ่มเติมในการวินิจฉัย เช่น ทานอาหารลดลง มีอุบัติเหตุพ่อแม่หรือพี่น้องของเจ้ากระต่ายน้อยเคยมีปัญหาเกี่ยวกับฟันมาก่อน

อาจสังเกตอาการอื่น ภายนอกร่วมด้วย เช่น มีการอักเสบบวมบริเวณใบหน้า รอบ ๆ ตา หรือมีฝีเกิดขึ้นบริเวณขากรรไกด้านบน อาจมีการฉีดสารทึบรังสีเข้าไปในท่อน้ำตาแล้ว ถ่ายภาพรังสีเพื่อดูลักษณะ และบริเวณของท่อน้ำตาที่อุดตันได้อีกด้วย ซึ่ง การวินิจฉัยเพิ่มเติมต่าง ๆ เหล่านี้จะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคุณหมอ

การรักษา การอักเสบและการอุดตันของท่อน้ำตารักษาโดยล้างท่อน้ำตาร่วมกับการใช้ยาปฏิชีวนะในรูปแบบกินและหยอดตารักษาที่ต้นเหตุของโรค เช่น ปัญหารากฟัน ฝีราก โดยการกรอฟัน ถอดฟัน หรือ ผ่าฝี ตามความเหมาะสม

สินค้าและข่าวสารล่าสุด
ข่าวสารจากทางร้าน

กระต่ายคาบหญ้าเพื่อทำรัง

การที่กระต่ายคาบหญ้าเพื่อทำรัง เป็นสัญญาณบ่งบอกว่ากระต่ายใกล้คลอดลูกแล้ว โดยทั่วไป กระต่ายจะเริ่มคาบหญ้าและเตรียมทำรังในช่วง 1-3 วันก่อนคลอด แต่ก็มีกระต่ายบางตัวที่อาจเริ่มเตรียมตัวเร็วกว่านั้น ประมาณ 1 สัปดาห์ก่อนคลอดได้เช่นกัน ดังนั้น การสังเกตพฤติกรรมการคาบหญ้าของกระต่ายร่วมกับการสังเกตอาการอื่นๆ

อ่านเพิ่มเติม >
ข่าวสารจากทางร้าน

กระต่ายขี้เป็นพวงองุ่น

การที่กระต่ายขี้เป็นพวงองุ่นนั้นเป็นเรื่องปกติและเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการย่อยอาหารของกระต่าย โดยมีรายละเอียดดังนี้: 1. มูลพวงองุ่น (Cecotropes): มูลพวงองุ่นคือมูลที่มีลักษณะนิ่ม ชื้น และติดกันเป็นพวงคล้ายองุ่น เกิดจากการที่ลำไส้ของกระต่ายดูดซึมสารอาหารบางชนิดไม่หมด ทำให้มูลชนิดนี้มีสารอาหารที่จำเป็

อ่านเพิ่มเติม >
ข่าวสารจากทางร้าน

กระต่ายคลอดลูกไม่หมด ทำยังไงดี

การที่กระต่ายคลอดลูกไม่หมดนั้นเป็นสถานการณ์ที่ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากผู้เลี้ยง เนื่องจากอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของแม่กระต่ายได้ โดยมีรายละเอียดดังนี้ สาเหตุที่กระต่ายคลอดลูกไม่หมด: มดลูกบีบตัวไม่ดี: อาจเกิดจากความอ่อนเพลียของแม่กระต่าย หรือภาวะแคลเซียมต่ำ ลูกกระต่ายตัวใหญ่เกินไป: ทำให้ลูกกร

อ่านเพิ่มเติม >