น้องกระต่ายกินหญ้าอะไรได้บ้าง ??? 

น้องกระต่ายกินหญ้าอะไรได้บ้าง ??? 

น้องกระต่ายกินหญ้าอะไรได้บ้าง ???
การเพิ่มทางเลือกในการกิน ให้กับกระต่าย หรือความกังวลว่าเค้าจะเบื่อสิ่งเดิมๆ ควรเพิ่มทางเลือกโดยการให้หญ้าที่หลากหลาย จะเป็นการดีต่อสุขภาพมากกว่าการเพิ่มทางเลือกโดยการให้ขนมหรือของหวานที่ไม่เหมาะสม
มีหญ้าหลากหลายชนิดเป็นทางเลือกมากมายสำหรับกระต่าย แต่หลักๆ แล้ว กระต่ายควรได้รับ อัลฟาฟ่าและทิมโมธี่เป็นหลัก แต่ควรให้ถูกช่วงอายุ (เช่น อัลฟาฟ่า ควรให้ถึงอายุ 6 เดือนเท่านั้น ในกระต่ายปกติ หรือปรับให้ในกรณีอื่นๆ ตามสัตวแพทย์เห็นสมควร)
ส่วนหญ้าชนิดอื่นๆ สามารถเพิ่มเสริมเข้ามาในช่วงอายุ 5-6 เดือนขึ้นไป (โดยเน้นที่ทิมโมธี่เป็นหลัก) ยกเว้นแพงโกล่าที่สามารถเสริมให้ฝึกทานได้ตั้งแต่ช่วง 1-2 เดือนอย่างต่อเนื่อง
Alfafal Hay (หญ้าอัลฟาฟ่า) กระต่ายเด็กทำไมต้อง กิน หญ้าอัลฟาฟ่า
🐰โปรตีนสูงสมวัย
อัลฟาฟ่ามีโปรตีนสูงถึง 13-18% ในหญ้าอื่นไม่มีนะครับ ไฟเบอร์ยังสูงเหมือนหญ้าอื่น 30-35% กระต่ายเด็กจะต้องเจริญเติบโต ใช้สารอาหารในการสร้างกล้ามเนื้อ บำรุงร่างกาย
ถ้าไม่กินช่วงวัยเด็ก การเจริญเติบโตของร่างกายอาจไม่เหมาะสม🐰ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการให้กระต่ายกิน
ระยะเวลาที่แนะนำมีช่วงสั้น : มีแค่ช่วงอายุหย่านมถึง8 เดือนเต็มที่ไม่เกิน1 ปี(ขึ้นกับการเจริญเติบโต กิจกรรม และสายพันธุ์ด้วย)
ถ้ากินตอนโต อาจทำให้กระต่ายอ้วน หรือเป็นนิ่วได้ เนื่องจากค่าทางโภชนาการที่ไม่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย ทำให้มีการสะสมของแคลเซียมที่มากเกินไป

Timothy Hay (หญ้าทิมโมธี)

  • สำหรับสัตว์ เป็นหญ้าที่มีคุณค่าทางอาหารสูง กลิ่นหอมน่ากิน ไฟเบอร์สูง โปรตีนและแคลเซียมต่ำ
  • เส้นใยขนาดยาวของหญ้าจะช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบทางเดินอาหารได้ดี จึงช่วยลดปัญหาการเกิดโรคระบบทางเดินอาหารในสัตว์กินพืช เช่น ท้องอืด ท้องเสียได้
  • นอกจากนี้ยังช่วยในการสึกของฟันตามธรรมชาติในสัตว์พวกกระต่ายได้ดี
  • ในห่อเป็นหญ้าทิโมธี100% ไม่มีวัตถุกันเสีย ไม่มีสารแต่งกลิ่นใดๆ
  • เหมาะกับสัตว์กินพืชทุกชนิด ทั้งกระต่าย แกสบี้ ชินชิล่า แพรี่ด็อก หนูชนิดต่างๆ เต่าบก

Orchard Grass Hay  (หญ้าออชาร์ด)

หญ้ากลิ่นหอมหวาน เเละเนื้อสัมผัสที่นุ่มนวล ที่สัตว์เลี้ยงต้องหลงรักกลิ่นหอมจากหญ้า ออฉาดจะช่วยกระตุ้นความอยากอาหาร ให้กากอาหารสูง, โปรตีนต่ำ, ไขมันต่ำ เหมาะสำหรับสัตว์ฟันเเทะโตเต็มวัยตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป

Oat Hay  (หญ้าโอ๊ต)

เพื่อให้ได้กากอาหารสูง เเละเต็มเปี่ยมไปด้วยรสชาติ เราจึงเก็บเกี่ยวก่อนที่หญ้าโอ๊ตจะเจริญเติบโตไปมีเมล็ด ที่สำคัญยังมีเนื้อสัมผัสที่กรุบกรอบ ซึ่งช่วยลับฟันได้ดี อีกทั้งยังมี โปรตีนต่ำ, ไขมันต่ำ เหมาะสำหรับสัตว์ฟันเเทะโตเต็มวัยตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป

 (Pangola Hay) หญ้าแพงโกล่า
มันดีกับน้องกระต่ายยังไง?🤔
อย่างแรกเลยช่วยลับฟันครับ อย่าลืมน้า
ฟันกระต่ายเค้ายาวไปตลอดชีวิตเค้านะครับ
หญ้าที่มีก้านลักษณะแข็งพอเหมาะจะช่วยลับฟันได้ดีตอนบดเคี้ยวครับ 😮👍
อย่างที่สอง จำเป็นต่อกระบวนการหมักในลำไส้ เพื่อให้ระบบขับถ่ายเกิดความสมดุลและช่วยกระตุ้นให้ระบบทางเดินอาหาร ย่อยเป็นไปตามปกติ😮👍👍
อย่างที่สาม ทำให้อึนั้นกลมสวย ซึ่งบ่งบอกถึงมีระบบการขับถ่ายที่ดี 😮👍👍👍
สุดท้าย ไฮไลท์เลย ช่วยป้องกันโรค “แฮร์บอล”
หรือ เรียกบ้านๆว่า ก้อนขนอุดตันในลำไส้ ต้องบอกว่าเนื่องจากกระต่ายเค้าเป็นสัตว์ที่รักษาความสะอาดอยู่แล้วครับ พอถึงช่วงผลัดขนกระต่ายก็จะเลียเอาเส้นขนที่ตายแล้วหรือหลุดร่วง เข้าร่างกายในปริมาณที่มาก และเส้นขนนี้เองก็จะไปอุดตันที่ลำไส้ครับ ทำให้กระต่ายกินได้น้อยลง ปวดท้องและมีโรคแทรกซ้อนอย่างอื่นตามมาครับ *ส่วนใหญ่เป็นหนักๆต้องผ่าตัดเพื่อเอาก้อนขนออกนะจ๊ะ*
และด้วยความเจ๋ง!! ของหญ้า Pangola นี้เอง
เมื่อกระต่ายได้กินหญ้า Pangola นี้เข้าไปแล้ว จะอึสายสร้อยออกมาให้เห็นกันเลย👍👍👍👍👍👍 “อึสายสร้อยคืออะไรและเป็นไง หาข้อมูลกันเองน้า”
 

สินค้าและข่าวสารล่าสุด
ข่าวสารจากทางร้าน

กระต่ายคาบหญ้าเพื่อทำรัง

การที่กระต่ายคาบหญ้าเพื่อทำรัง เป็นสัญญาณบ่งบอกว่ากระต่ายใกล้คลอดลูกแล้ว โดยทั่วไป กระต่ายจะเริ่มคาบหญ้าและเตรียมทำรังในช่วง 1-3 วันก่อนคลอด แต่ก็มีกระต่ายบางตัวที่อาจเริ่มเตรียมตัวเร็วกว่านั้น ประมาณ 1 สัปดาห์ก่อนคลอดได้เช่นกัน ดังนั้น การสังเกตพฤติกรรมการคาบหญ้าของกระต่ายร่วมกับการสังเกตอาการอื่นๆ

อ่านเพิ่มเติม >
ข่าวสารจากทางร้าน

กระต่ายขี้เป็นพวงองุ่น

การที่กระต่ายขี้เป็นพวงองุ่นนั้นเป็นเรื่องปกติและเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการย่อยอาหารของกระต่าย โดยมีรายละเอียดดังนี้: 1. มูลพวงองุ่น (Cecotropes): มูลพวงองุ่นคือมูลที่มีลักษณะนิ่ม ชื้น และติดกันเป็นพวงคล้ายองุ่น เกิดจากการที่ลำไส้ของกระต่ายดูดซึมสารอาหารบางชนิดไม่หมด ทำให้มูลชนิดนี้มีสารอาหารที่จำเป็

อ่านเพิ่มเติม >
ข่าวสารจากทางร้าน

กระต่ายคลอดลูกไม่หมด ทำยังไงดี

การที่กระต่ายคลอดลูกไม่หมดนั้นเป็นสถานการณ์ที่ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากผู้เลี้ยง เนื่องจากอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของแม่กระต่ายได้ โดยมีรายละเอียดดังนี้ สาเหตุที่กระต่ายคลอดลูกไม่หมด: มดลูกบีบตัวไม่ดี: อาจเกิดจากความอ่อนเพลียของแม่กระต่าย หรือภาวะแคลเซียมต่ำ ลูกกระต่ายตัวใหญ่เกินไป: ทำให้ลูกกร

อ่านเพิ่มเติม >